บทความภาษาไทย

การวิจัยและพัฒนาครูและโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาครู สร้างรูปแบบการพัฒนาครู พัฒนาครูและโรงเรียนตามรูปแบบในด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูให้มีความพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม การดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทั้งคณาจารย์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านปลักแรด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 และโรงเรียนวังพิกุลวิทยาศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 ซึ่งมีการดำเนินการตามลำดับขั้นตอน โดยเริ่มจากการเตรียมการ มีการศึกษาบริบทของโรงเรียน การสร้างความเข้าใจและปรับกระบวนทัศน์ กำหนดมาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู สร้างรูปแบบการพัฒนา ดำเนินการพัฒนาตามรูปแบบ ประเมินติดตามและสรุปผล การกำหนดมาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ดำเนินการโดยใช้วิธีศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประชุมระดมสมอง ยกร่างมาตรฐาน วิพากษ์แล้วนำมาปรับปรุงเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ ส่วนดารเลือกประเด็นการพัฒนาใช้วิธีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง (SWOT) นำมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ แล้วนำจุดอ่อนมาเป็ฯประเด็นการพัฒนาตามมาตรฐานครูด้านการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมาตรฐานครูด้านการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จากนั้นสร้างรูปแบบการพัฒนาที่ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ กิจกรรมการพัฒนาและกิจกรรมการติดตามประเมินผลที่คู่ขนานกันทุกระยะของการดำเนินการ ผลการดำเนินการวิจัย 1. มาตรฐานโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู มี 4 ด้าน ประกอบด้วย มาตรฐานด้านครู 4 มาตรฐาน ( 14 ตัวบ่งชี้ ) ได้แก่ มาตรฐานเกี่ยวกับการมีวิญญาณความเป็นครู คุณธรรม จริยธรรม ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ความรู้ความสามารถที่ตรงกับความรับผิดชอบ และความสามารถในการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานด้านผู้บริหาร 7 มาตรฐาน (32 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ มาตรฐานเกี่ยวกับการจัดองค์กรโครงสร้างการบริหารงาน ความสัมพันธ์กับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้บริหารมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี มีภาวะผู้นำมีความสามรถในการบริหารจัดการ การมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่นมีสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการบริหารหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานด้านชุมชน มี 1 มาตรฐาน ( 2 ตัวบ่งชี้ ) ได้แก่ ชุมชนให้การสนับสนุนและส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพครู และมาตรฐานด้านผู้เรียน 7 มาตรฐาน (22 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณมีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีสุขนิสัยสุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพและภาพลีกษณะนิสัยด้านศิลปะ คนตรี และกีฬา 2. ผลการพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความตระหนักและร่วมมือพัฒนาครูและโรงเรียนจนสามารถเป็นแบบอย่างด้านการเรียนยรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีความพร้อมที่จะเป็นหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามหลักการของโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ครูร้อยละ 80 ขึ้นไป สามารถเสนอโครงการพัฒนาตนเอง โดยเลือกเทคนิคการสอนด้านการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำไปจัดการเรียนรู้ได้เกิดผลดี ส่วนการพัฒนาครูด้านการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงสามารถพัฒนาตนเองด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้โดยร่วมกับนักศึกษาใช้ชุมชนเป็นรากฐานการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในคู่มือโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม นอกจากนี้ ผู้บริหารและครูยังได้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (PAR) รวมทั้งการทำงานที่ครบวงจร(PDCA) ไปใช้ในวิถีทางของการปฏิบัติงานของโรงเรียนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เรื่องที่ 2
การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติศึกษา พ.ร.บ. วิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้
Title Alternative
The Teachers College Policy Implementation, Studying The Teachers College Act (No.2), B.E. 2527,: A Case Study of United College of Southern Isara

Creator
Organization : วิยยาลัยครู. คณะครุศาสตร์
Subject
Classification :.DDC: 378.101
Description
Abstract: การวิจัยเรื่อง การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ ศึกษา พ.ร.บ. วิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้เป็นการศึกษา การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ ตาม พร.บ. วิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (2) เพื่อศึกษาสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (3) เพื่อนำผลที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัย ไปพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาเป็นสมมติฐานในการทอสอบ 3 สมมติฐานที่ 1 ตัวแปรลักษณะโครงสร้างของนโยบาย ทรัพยากรให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานการสนับสนุนจากการเมือง การติดต่อสื่อสาร และภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานสูงกับการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ สมมติฐานที่ 2 การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และภาวะผู้นำ เป็นชุดตัวแปรเชิงนโยบายที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความสำเร็จในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ และสมมติฐานที่ 3 การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และภาวะผู้นำเป็นชุดตัวแปรเชิงนโยบาย ที่มีอิทธิพลสูงสุด ต่อการพยากรณ์การจำแนกกลุ่มตามระดับความสำเร็จ ในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ออกแบบการวิจัยแบบตัดขวาง มีตัวแปรอิสระ 6 ตัวคือการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ภาวะผู้นำ ทรัพยากร การติดต่อสื่อสารการสนับสนุนจาการเมือง และโครงสร้างของนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 ตัวแปร คือการสอนนักศึกษาภาคปกติ การนักศึกษาภาค กศ.บป. การวิจัย การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และการให้บริการทางวิชาการประชากรกลุ่มเป้าหมาย คืออาจารย์ที่ปฏิบัติงานในสหวิทยาลัยอีสานใต้ ประกอบด้วย อาจารย์วิทยาลัยครูนครราชสีมา วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ และวิทาลัยครูอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1- 15 กรกฎาคม 2534 ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากวิทยาลัยครูละ 105 ชุด ได้แบบสอบถามกลับคือทั้งสิ้น 269 ชุด คือ จากวิทยาลัยครูสุรินทร์ 101 ชุด วิทยาลัยครูนครราชสีมา 62 ชุด วิทยาลัยบุรีรัมย์ และวิทยาลัยครูอุบลราชธานีแห่งละ 53 ชุด คิดเป็นร้อยละ 64 ของแบบสอบถามทั้งหมดแบบสอบถาม เป็นมาตรวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคร์ต ส่วนผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของมาตรวัด อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ โดยใช้สถิตที่สำคัญ คือ อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยหุคูณ และการวิเคราะห์อำนาจจำแนก การค้นพบ 1. ตัวแปรลักษณะโครงสร้างของนโยบาย ทรัพยากร การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากการเมือง การติดต่อสื่อสาร และภาวะผู้นำ มีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานสูง กับการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ ยืนยันตามสมมติฐานที่ 1 แสดงว่า ตัวแปรเชิงนโยบายทุกตัว มีความสัมพันธ์กับการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติสอดคล้องกับการศึกษาทางทฤษฎี และผลงานวิจัยด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2. ตัวแปรให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และภาวะผู้นำ เป็นชุดตัวแปรเชิงนโยบาย ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความสำเร็จการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ โดยที่การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน จะมีอำนาจในการพยากรณ์และการอธิบายความสำเร็จในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะผู้นำ ยืนยันตามสมมติฐานที่ 2 แสดงว่า ถ้าอาจารย์ของวิทยาลัยครูใด ๆ ให้ความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานสูง ก็จะทำให้การปฏิบัติภารกิจของวิทยาลัยครูแห่งนั้นจะประสบผลสำเร็จมากขึ้น และถ้าผู้บริหารมีความสามารถในการใช้ภาวะผู้นำที่ดี ยิ่งจะทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น 3. ตัวแปรการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานมีอำนาจจำแนกการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติตามระดับความสำเร็จได้ดีที่สุด ยืนยันตามสมมติฐานที่ 3 แสดงว่าวิทยาลัยครูที่ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติในเกณฑ์สูง ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือในการทำงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครูแห่งนั้น 4. การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จในระดับปานกลาง ยกเว้นการวิจัย ที่ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ 5. การดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยครู และการหมุนเวียนให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีจนเกษียณอายุราชการ เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ จะประสบผลสำเร็จสูงหากได้ดำเนินการดังนี้ 1. ส่งเสริมให้อาจารย์ของวิทยาลัยครูเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน โดยเน้นกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้ประโยชน์จากบุคลากรให้ตรงกับความรู้ความสามารถ บรรจุบุคลากรในสาขาที่ขาดแคลน

เรื่องที่3
วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตจังหวัดสุรินทร์

Creator
Organization : สถาบันราชภัฏสุรินทร์
Subject
Classification :.DDC: 372.24
Description
Abstract: การศึกษาวัฒนธรรมองค์การ ของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การในความหมายของค่านิยม การบริหารและจัดการโดยจำแนกศึกษาใน 5 มิติคือ วัฒนธรรมองค์การด้านการสื่อสาร วัฒนธรรมองค์การด้านการแก้ป้ญหา วัฒนธรรมองค์การด้านความขัดแย้ง วัฒนธรรมองค์การด้านความเป็นผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การด้านการจูงใจ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาภาคสนาม ที่เน้นการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เจาะลึกและวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้เวลาเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลากว่า 2 ปี (2535-2537) พื่นที่ที่ศึกษา คือโรงเรียนประถมศึกษาและชุมชนรอบโรงเรียนในเขตจังหวัดสุรินทร์ 20 โรงเรียน ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้บรรยายอย่างลึกซึ้ง (Thick Deseription) ในสาระดังต่อไปนี้ 1. สภาพวัฒนธรรมองค์การด้านการสื่อสาร โรงเรียนประถมศึกษาส่วนให้ใช้หอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ใช้วัดและเจ้าอาวาสเป็นผู้ส่งข่าว การสื่อสารกับนักเรียนอาศัยการเคราพธงชาติหน้าเสาธงเป็นหลัก การส่งข่าวถึงผู้ปกครองจะนิยมใช้โอกาสในการจัดเชิดชูเกียรตินักเรียนที่สำเร็จการศึกษา เป็นต้น 2. สภาพความขัดแย้งและการแก้ปัญหา พบว่าโรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่ต้องแก้ปัญหาจากภายในตัวนักเรียน เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ยากจนพูดภาษาเขมรและส่วน (กูย) เป็นภาษาแม่ ทำให้การสื่อสารด้วยประสิทธิภาพมาก ผู้ปกครองขาดความเข้าใจ ให้ความสำคัญกับโรงเรียนน้อยมาก ไม่สนใจที่จะส่งลูกเข้าเรียนต่ด ส่วนสภาพความขัดแย้งภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียนจะมีสาเหตุมากจากผู้บริหารโรงเรียนที่ส่วนใหญ่เป๋นคนหัวเก่า ขาดความคิดสร้างสรรค์ สร้างความแตกแยกภายในกลุ่มครู และขาดมนุษยสมพันธ์กับชุมชนภายนอกโรงเรียน 3. ความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและคนในองค์การ โรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่งมีผู้บริหารที่ใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนน้อยมาก กบล่าวคือโดยเฉลี่ยวันละ 2-4 ชั่วโมง งานประจำของผู้บริหารคือตรวจเช็กสมุดลงเวลา เดินตรวจอาคารสถานที่ พูดหน้าเสาธงและเขียนรายงานใสมุดหมายเหตุประจำวัน ฯลฯ ผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ กลัวเจ้านาย กลัวการประชุมคณะครู มีความลำเอียงสูงชอบทำงานอยู่ในกรอบเลียนแบบโรงเรียนใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่อายุน้อยขยันสอนเด็กนักเรียน และให้ความสนใจเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นต้น 4. ระบบรางวัล ขวัญและกำลังใจในองค์การ โรงเรียนประถมศึกษาที่ศึกษาครั้งนี้ พบว่า ประเภทแรกเป็นโรงเรียนที่ผู้บริหารร่ำรวย ประกอบธุรกิจเงินกู้ บางโรงเรียนจะออกเงินให้ครูกู้จะมีเวลาอยู่ในโรงเรียนน้อยมาก ประสิทธิภาพการเรียนการสอนอ่อนด้อย โรงเรียนประถมศึกษาอีกประเภทหนึ่ง ผู้บริหารโรงเรียนยากจนมาก ดื่มสุราเมาเช้าเมาเย็น ต้องใช้เวลาราชการไปทำธุระด้านเงินและครอบครัวในช่วงสิ้นเดือนและต้นเดือน ส่วนระบบรางวัลที่จัดให้คณะครูนั้น มีความช้ดเจนเฉพาะการให้ความดีความชอบ (หรือ 2 ชั้น) ตามระบบราชการเท่านั้น ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ พบน้อยมากขวัญและกำลังใจของคณะครูมีน้อยมาก เพราะผู้บริหารลำเอียง ขาดความมั่นใจอุทิศเวลาแก่ราชการน้อย และขาดอุดมการณ์การทำงาน

เรื่องที่4
Address: 83 ม.11 ต.สะเดียง อ.เมือง
Organization : จ.เพชรบูรณ์
Subject
Classification :.DDC: 307.1
Description
Abstract: การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการ สู่ความพอเพียงและยั่งยืนของชุมชนบ้านป่าบง ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของการบริหารจัดการในชุมชน การสร้างเสริมศักยภาพและการร่วมมือเพื่อพัฒนาชุมชน และการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายกับตัวแทนกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ ณ ชุมชนบ้านป่าบง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพการบริหารจัดการในชุมชน ด้านกายภาพและสวัสดิการส่วนใหญ่องค์การบริหารส่วนตำบลตะเบาะ เป็นผู้กำกับดูแล ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนมักเป็นผู้กำกับดูแลกิจกรรมของชุมชน การดำเนินกิจกรรมกลุ่มส่วนใหญ่ไม่เป็นรูปธรรม ชาวบ้านไม่ชอบแสดงความคิดเห็น มีความรักปรองดองกันในหมู่ญาติมิตร มีการปลูกข้าวและผักส่วนครัวไว้บริโภค แต่ยังขาดความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนปัญหาได้แก่ ต้นทุนการผลิตสูง ราคาผลผลิตต่ำค่าครองชีพสูง กระแสโลกาภิวัตน์และวัตถุนิยมสำหรับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนควรเริ่มจากกลุ่มนำร่องและขยายผลต่อไป โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการเสริมแรง ติดตามผล และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ผู้นำชุมชนต้องมีภาวะผู้นำและประสานประโยชน์กับภาคี สำหรับรูปแบบการบริหารจัดการชุมชน ควรแบ่ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การรู้รักสามัคคีโดยชุมชนควรเสริมสร้างศักยภาพให้ทุกคนให้มีส่วนร่วม ผลักดันกลุ่มและเครือข่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2) การออมทรัพย์และบริหารจัดการชุมชนในรูปของคณะกรรมการและตรวจสอบได้ 3) การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) ดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในทุกครัวเรือน พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีติดตามผลและประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ

เรื่องที่5

ความพึงพอใจของนายจ้างต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
Title Alternative
Satisfaction of Employers with Work Performance of Graduates from the Faculty of Science and Technology, Rajabhat Institute Suan Dusit

Creator
Subject
Description
Abstract: วิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนายจ้างต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างเป็นนายจ้างของบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2542 – 2545 จำนวน 58 คน ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนายจ้างต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการ การจัดลำดับที่ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม นายจ้างมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับมาก โดยนายจ้างมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิตด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานด้านบุคลิกภาพและความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ตามลำดับพิจารณารายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. ด้านความรู้ความสามารถของบัณฑิต นายจ้างมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง โดยมีความพึงพอใจตามลำดับ คือ มีความสามารถในการทำงานที่มอบหมายให้สำเร็จคุณภาพของผลงาน ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา การนำความรู้มาประยุกต์ใช้ ความสามารถในการสื่อสารและแสดงความคิดเห็น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความรู้ทางวิชาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการจัดการ และความสามารถในการใช้ภาษา 2. ด้านบุคลิกภาพของบัณฑิต นายจ้างมีความพึงพอใจในระดับมาก มีความพึงพอใจตามลำดับ คือ ความมีมนุษยสัมพันธ์ การมีสัมมาคารวะต่อผู้อื่น การแต่งกาย ความสนใจ ใฝ่หาความรู้ ความเป็นประชาธิปไตย ความสามารถในการปรับตัว ความรู้จักกาลเทศะ ความขยันหมั่นเพียร ความเป็นผู้นำ ความหนักแน่นทางอารมณ์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการตัดสินใจ 3. โดยภาพรวม นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณธรรม จริยธรรมของบัณฑิตในระดับมาก มีความพึงพอใจตามลำดับ คือ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงาน ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน และความตรงต่อเวลา 4. ข้อเสนอแนะ 4.1 ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน คือ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์(โปรแกรมสำเร็จรูป การดูแลระบบ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์) ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทักษะการสื่อสาร ประสบการณ์ในการทำงาน และปลูกฝังค่านิยมให้รักการทำงาน รักองค์กรและเพื่อนร่วมงาน 4.2 คุณลักษณะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน คือ ความตั้งใจ มานะ อุตสาหะในการปฏิบัติหน้าที่ ความขยัน อดทน และสู้งาน การมีภาวะผู้นำ การเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัวและความสามารถในการแก้ปัญหา 4.3 ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน คือ ขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ทักษะการเป็นผู้นำ และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาเข้ากับงานที่ทำ 4.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงคุณภาพของบัณฑิต ควรมีการฝึกฝนการมีภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ เพิ่ม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้